fbq('track', 'ViewContent');

เมื่อโลกเริ่มอยู่ยาก โดนจับก็โดนทำร้าย..จนถึงขั้นตายด้วยถุงดำครอบหัว ถึงเวลาของการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย.. จับเท็จอย่างโปร่งใส ไม่ต้องใช้ความรุนแรง บนโลกนี้มีเทคโนโลยีอยู่มากมายที่สามารถใช้ในการสอบปากคำ เพื่อวิเคราะห์คำให้การว่าผู้ต้องสงสัยเหล่านั้นกำลังพูดจริงอยู่หรือไม่ นอกจากจะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้พยานหลักฐานแล้ว ยังช่วยปิดคดีได้รวดเร็วขึ้นอีกด้วย แล้วเทคโนโลยีที่ว่ามานี้มีอะไรบ้าง.. ตามไปดูกันเลย

เครื่องจับรูม่านตา (Eye Detect)

หลายคนอาจคิดว่ามีแค่ในหนังเท่านั้น.. แต่เปล่าเลย! มันมีอยู่จริงในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยการจับเท็จที่ว่านี้.. เป็นการจับผ่านความเคลื่อนไหวของลูกตา การขยายตัวของรูม่านตา และเวลาในการตอบสนองต่อแต่ละคำถาม โดยจะให้ผู้ต้องสงสัยนั่งตอบคำถามหน้าคอมพิวเตอร์ ที่มีกล้องคอยบันทึกดวงตา ใบหน้า และความเคลื่อนไหวต่างๆอยู่ตลอดเวลา เป็นระยะเวลาประมาณ 30 - 50 นาที เพื่อสังเกตแพทเทิร์นและรีแอคชั่นต่างๆ แล้วนำมาสรุปประกอบคำให้การว่ากำลังโกหกอยู่หรือไม่

Close-up-of-a-mans-eye-with-iris-biometric-id-points.jpeg

กระจกเงาหลอก (Two-way Mirror)

เป็นเทคโนโลยีที่หลายคนอาจเคยเห็นบ่อยในหนังแอคชั่น ที่มีกระจกบานใหญ่อยู่ในห้องไต่สวน และกระจกบานนั้นสามารถมองทะลุเข้าไปในห้องได้จากฝั่งตำรวจ เอาไว้เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรม ท่าทางของผู้ต้องสงสัยแบบไม่ทันระวังตัว โดยจะวิเคราะห์ตั้งแต่การหลบตา ความติดขัดเวลาพูด การเคลื่อนไหวของมือและเท้า เพราะคนเราเวลาโกหกมักจะไม่กล้าสบตา สั่นขา หรือเกาจมูกบ่อยๆ ท่าทางการแสดงออกเลยเป็นอีกหนึ่งวิธีที่หลายๆประเทศเลือกใช้ในการวิเคราะห์คำให้การ

acrylic-two-way-mirror.jpeg

เครื่องอ่านการเน้นเสียง (Voice Stress Analysis)

ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ.. ว่าเทคโนโลยีจับโกหกสมัยนี้ล้ำหน้าไปมากกกก การจับเท็จผ่านน้ำเสียงก็มีแล้วล่าสุด มันคือ การวิเคราะห์ระดับสูง-ต่ำ และความถี่ของเสียง อาจฟังดูเป็นเรื่องซับซ้อน ไกลตัว ให้คุณลองจินตนาการง่ายๆว่า เวลาคุณถามคำถามใครสักคน แล้วเค้าคนนั้นตอบกลับด้วยน้ำเสียงสูงผิดปกติ นั่นก็คือการจับผิดผ่านเสียงอย่างหนึ่งแล้ว แต่เทคโนโลยีในการไต่สวนนั้นซับซ้อนกว่ามาก และยังสามารถตรวจสอบคลื่นความถี่ผ่านการคุยโทรศัพท์เฉยๆได้อีกด้วย นี่เลยทำให้มันกลายเป็นเทคโนโลยีที่ฮอตมากในวงการธนาคารและบริษัทประกัน

ai-voices-vs-human-voices-1-1.jpeg

เครื่องวัดชีพจร (Polygraph)

ภายนอกอาจจะโกหกได้ แต่ภายในพูดเลยว่า.. ยาก! เพราะคนปกติทั่วไปหัวใจจะเต้นเร็วขึ้นถ้าโกหกหรือรู้สึกตื่นเต้น ซึ่งเป็นเรื่องที่หลายคนไม่สามารถควบคุมได้ เลยทำให้เทคโนโลยีนี้ถูกใช้ในการหาข้อเท็จจริง โดยจะวัดตั้งแต่ความดัน ชีพจร ไปจนถึงอัตราการหายใจ โดยใส่เครื่องวัดไว้ที่แขน นิ้ว และหน้าอกตลอดการสอบสวน

snowden.jpeg

เครื่องวัดคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG)

เทคโนโลยีสุดล้ำนี้ไม่ได้มีแค่ใน เอ็กซ์ เมน.. แต่ในชีวิตจริงมันเป็นการตรวจการทำงานของเซลล์ประสาทสมองโดยดูจากการเปลี่ยนแปลงทางไฟฟ้า โดยผู้ต้องสงสัยจะถูกแปะเครื่องวัดไว้บนหนังศีรษะระหว่างการไต่สวน.. เครื่องจะไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดใดๆ และจะให้ผู้ต้องสงสัยเล่าเรื่องราว ข้อมูลที่รู้ทั้งหมดเกี่ยวกับคดี รวมทั้งตอบคำถาม และดูรูปภาพจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นด้วย เพื่อสังเกตความเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าจากรีแอคชั่น เพื่อนำมาสรุปข้อเท็จจริงต่อไป แต่ความน่าเชื่อถือของเทคโนโลยีนี้ยังถือว่าต่ำมาก.. เนื่องจากมีงานวิจัยรองรับค่อนข้างน้อย

อหหห... เพียบเลยจริงมั้ยกับเทคโนโลยีล้ำๆในการสืบสวนสอบสวน.. ต่างประเทศเค้าใช้กัน ควรต้องถึงเวลาของไทยแลนด์! หันมาใช้วิธีที่ปลอดภัย.. และมีความเป็นลูกผู้ชายมากกว่ากันเถอะ.. เพราะทัฟแอนด์ทัมเบิล STAND FOR MEN THAT DO THE RIGHT THING!


Written by: Nat Saranya

Source: Policing Project, Wikipedia


Comment